ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"โครงการวิจัยจากการบริการวิชาการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ\"

โดย :

ดร.กรรณิการ์ สายเทพ
ชื่อเรื่อง : โครงการวิจัยจากการบริการวิชาการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ผู้วิจัย : ดร.กรรณิการ์ สายเทพ
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2017
บทคัดย่อ :
Abstract : หัวข้องานวิจัย กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง คณะผู้วิจัย อาจารย์ ดร.กรรณิการ์ สายเทพ อาจารย์ ดร.ศิรญา จนาศักดิ์ อาจารย์วัลลภ สิงหราช อาจารย์พิชญา เพิ่มไทย อาจารย์ธีระ เทียนรุ่งไพศาล งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการในชุมชนโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบจดบันทึกข้อมูล การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างนักวิจัย นักศึกษาและผู้ประกอบการในชุมชน ผลการศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า แนวทางการกำหนดแนวทางการสร้างกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้ 1. การศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการดำเนินงานการศึกษาหาความรู้/เข้าแหล่งความรู้ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำธุรกิจ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการทำธุรกิจ โดยปัจจุบันมีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้งานซึ่งสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง 2. การบริหารจัดการที่ยั่งยืน ควรการกำหนดโครงสร้างของธุรกิจว้อย่างชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร หรือรับผิดชอบงานอะไร โดยจัดทำแผนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอันประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการ ตัวแทนลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างเครือข่ายในการดำเนินการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จได้ 3. การสร้างเครือข่าย สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น การได้รับการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาศักยภาพกลุ่ม เป็นต้น ส่งผลให้มีการช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ และทำให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้นรวมถึงสามารถส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและสามารถสร้างรายได้และกำไรให้แก่ผู้ประกอบการได้ 4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ที่ผู้ประกอบการไปเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนา ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน การแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการมีความคิดว่าการแบ่งปันความรู้ หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จได้
รายละเอียด :