ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"การบูรณาการทุนทางสังคมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวของชุมชนพื้นที่ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง\"

โดย :

ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์
อ.ปิยะ วัตถพาณิชย์
อ.ธวัชชัย ทำทอง
อ.กมลวรรณ ทาวัน
ชื่อเรื่อง : การบูรณาการทุนทางสังคมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวของชุมชนพื้นที่ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์
อ.ปิยะ วัตถพาณิชย์
อ.ธวัชชัย ทำทอง
อ.กมลวรรณ ทาวัน
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2017
บทคัดย่อ : บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนในพื้นที่ตำบลแจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาครัฐ เอกชน ในพื้นที่ โดยการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม และใช้การจัดเวทีเสวนา การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเชื่อมโยงข้อมูลและผลการศึกษาจากทีมนักวิจัยมาร่วมตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของเครื่องมือและผลการวิจัย โดยผลการวิจัย พบว่าชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนที่มีศักยภาพทางด้านการคมนาคม วิถีชีวิตที่ยังคงความเป็นชุมชนดั้งเดิม มีสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ศูนย์เรียนรู้ศิลปะหัตกรรม อาชีพพื้นถิ่นดั้งเดิม รวมทั้งการให้ความสำคัญของเทศบาลตำบลแจ้ห่ม ในประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีนโยบายในการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยเชื่อมโอกาสของการเป็นเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัด คำสำคัญ : การท่องเที่ยว ศักยภาพ ชุมชน
Abstract : Abstract The purpose of this research is to analyze the potential of communities in Chae Hom district, Chaeom district, Lampang province. By the involvement of the community network by local government and government sector. The research uses qualitative research methodology. Use a participatory process, Focus Group and In-depth interviews. Linking data and findings from the research team to the review to build confidence in the tools and findings. The found that the community in the Blackbeard area in Chae Hom district Lampang is a community that has the potential of communication. The traditional way of life continues. There are good places to build a tourist attraction, such as the learning Center. On the issue of promoting tourism with the policy of community development as a tourist attraction by combining the opportunity of being a tourist route of the province. Key word: Tourism, Potential, Community
รายละเอียด :

งานวิจัย

\"ปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สายสนับสนุน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน\"

โดย :

ผศ.ดร.สุเทพ ทองคำ
ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
อ.มยุรี พรหมเทพ
ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
อ.สรัญญา บัลลังก์
อ.ปิยะ วัตถพาณิชย์
ชื่อเรื่อง : ปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สายสนับสนุน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.สุเทพ ทองคำ
ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
อ.มยุรี พรหมเทพ
ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
อ.สรัญญา บัลลังก์
อ.ปิยะ วัตถพาณิชย์
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2017
บทคัดย่อ : หัวข้อวิจัย: ปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมของพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปางสายสนับสนุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร. สุเทพ ทองคำ อาจารย์ ดร. อัจฉรา เมฆสุวรรณ อาจารย์มยุรี พรหมเทพ อาจารย์ขจรศักดิ์ วงศ์วิราศ อาจารย์สรัญญา บัลลังก์ อาจารย์ปิยะ วัตถพาณิชย์ ปีที่ทำการวิจัย: 2560 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยด้านบุคลิกภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการทำงาน และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อเท่ากับ 0.825 สถิติที่ใช้คือความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ และบุคลิกภาพแบบแสดงออก อยู่ในระดับมาก บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และบุคลิกภาพแบบการประนีประนอม อยู่ในระดับปานกลาง ลำดับสุดท้ายบุคลิกภาพแบบมีจิตสํานึก อยู่ในระดับน้อย ส่วนประสิทธิภาพในการทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนที่มี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุการทำงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และ บุคลิกภาพแบบประนีประนอมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานในภาพรวมที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.882 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 66.90
Abstract : Title: The Appropriative Personality Factors of Supportive Employees in Lampang Rajabhat University that Affect Efficient Work Performance Researcher Team: Lecturer Dr. Sutep Tongkome Lecturer Dr. Atchara Meksuwan Lecturer Mayuree Promtep Lecturer Kajohnsak Wongwirach Lecturer Sarunya Ballang Lecturer Piya Wattapanich Organization: Faculty of Management Science, Lampang Rajabhat University Year: 2017 Abstract The objectives of the research were to (1) study the opinion level of personality and work performance factors; (2) compare personal factors and work performance; and (3) study personality factors on work performance of support employees in Lampang Rajabhat University. The samples used were 168 support staffs of the university. The instrument used was a questionnaire with a reliable value of 0.825. The statistics used were frequency, mean, percentage, t-test, One-way analysis of variance, and multiple regression analysis. The results showed that: (1) personality in Openness to experience and expression were very high. Neuroticism personality and Agreeableness personality were at the moderate level. The last, Conscientiousness personality was at the low level. Efficiency of work performance in general was at a high level. (2) Supportive employees of the university with age, marital status, education level, working age, and monthly income had a statistically significant difference at 0.05 (p <.05). 3) Personality in Openness to experience, consciousness, Neuroticism, and Agreeableness personality of supportive staff at Lampang Rajabhat University have influences on efficiency of work performance in general at the coefficient of correlation of 0.882 and can predict the efficiency of work performance of university staff at 66.90%.
รายละเอียด :