ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารล้านนาภายใต้กระแสวัฒนธรรมพันทาง\"

โดย :

อ.ชุตินิษฐ์ ปานคำ
ชื่อเรื่อง : การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารล้านนาภายใต้กระแสวัฒนธรรมพันทาง
ผู้วิจัย : อ.ชุตินิษฐ์ ปานคำ
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2017
บทคัดย่อ : บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นล้านนา” ผ่านอาหารล้านนา และ 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของ “อาหารล้านนา” ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีชาวล้านนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการศึกษาโดยอาศัยแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-dept Interview) และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยให้ความสนใจกับข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบสร้างความหมายและอัตลักษณ์อาหารล้านนา และใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบมีส่วนร่วมในการทำจัดทำอาหารล้านนา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารอัตลักษณ์ “ความเป็นล้านนา” ของอาหารล้านนานั้น เป็นการสื่อสารที่มีการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ด้วยการประกอบสร้างปรุงแต่งรสชาติให้เหมาะสมกับผู้บริโภคที่มีความปรารถนาในรสชาติได้ตามที่ต้องการ แต่ยังคงเสน่ห์ของเครื่องปรุงต้นแบบด้วยเครื่องเทศและส่วนประกอบของอาหารล้านนาเป็นหลักในการประกอบอาหารในแต่ละครั้ง ซึ่งประกอบด้วย กระเทียม หัวหอม พริกแห้งหรือพริกสด กะปิ ถั่วเน่าแข็บ (ถั่วเน่าแผ่น) เกลือ กะปิ ปลาร้า น้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด ถั่วเน่าแข็งผิงไฟ น้ำอ้อย คะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขิง จะเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาหารล้านนา และบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารล้านนา พบว่า มีบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ทั้งหมด 7 บทบาท ได้แก่ 1) บทบาทในการสร้างข้อตกลงร่วมกัน 2) บทบาทในการสร้างความมั่นใจ 3) บทบาทในการสร้างพื้นที่ต่อรอง 4) บทบาทในการสร้างต้นแบบ 5) บทบาทในการสร้างความภาคภูมิใจ 6) บทบาทในการสร้างคุณค่า และ 7) บทบาทในการสร้างมูลค่าเพิ่มความเป็นล้านนาที่ทันสมัย
Abstract :
รายละเอียด :