ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"ผลกระทบของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชี\"

โดย :

ผศ.สรัชนุช บุญวุฒิ
ผศ.ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
ผศ.ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร
ผศ.ทิพยาภรณ์ ปัตถา
ผศ.สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา
อ.สนธิญา สุวรรณราช
ชื่อเรื่อง : ผลกระทบของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชี
ผู้วิจัย : ผศ.สรัชนุช บุญวุฒิ
ผศ.ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
ผศ.ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร
ผศ.ทิพยาภรณ์ ปัตถา
ผศ.สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา
อ.สนธิญา สุวรรณราช
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2017
บทคัดย่อ : บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดลำปางและเพื่อค้นหาแนวทางการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดลำปางดำเนินการวิจัยโดยผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ เชิงลึก (Depth interview) และสัมภาษณ์แบด้านบกลุ่ม (Focus Group) ผู้ผลิตข้าวแต๋นและผู้บริโภค ข้าวแต๋น จำนวน 40 คน และนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ผลการศึกษาพบว่าความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดลำปาง ควรเริ่มจากการสร้างการรับรู้และการจดจำแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค ในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านมาตรฐานการผลิต ด้านคุณลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัว และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนข้าวแต๋นสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดลำปาง ควรเป็นรูปแบบถนนคนเดินตลาดนัด ในถนนสายประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง (กาดกองต้า) ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และควรจัดกิจกรรมแบบยั่งยืนสินค้าที่วางจำหน่ายร่วมกันควรเป็นสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ นอกจากนี้ผู้วิจัยทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม และสินค้าที่วางจำหน่ายร่วมกันในการจัดกิจกรรมมีความสัมพันธ์และมีผลกระทบเชิงบวก ส่วนด้านแรงจูงใจ ด้าน สิ่งอำนวยความสะดวกและด้านปัญหาที่พบในแหล่งท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ แนวทาง, กิจกรรมการท่องเที่ยว, ขับเคลื่อน,สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
Abstract : ABSTRACT The purpose of this research was to study the feasibility of tourism promotion activities for the promotion of GI rice cracker products in Lampang province and to study development guidelines for tourism activities to promote rice cracker products Geographic Indicator (GI) in Lampang province. This research conducts by integrating qualitative and quantitative research. By qualitative research, the researcher conducted in-depth interviews and focus groups interviews by inviting 40 people (rice producers, and consumers of rice). The information from the interview was then analyzed by content analysis. A questionnaire was used to collect quantitative data from 400 tourists by means of random sampling. The study found that the feasibility of tourism promotion activities for the promotion of GI rice cracker products in Lampang province should start from the recognition and recognition of producers and consumers. In terms of product quality, production standards ,unique features and packaging standard. The pattern of tourism activities to promote geographical indication (GI) rice cracker in Lampang province should be a walking street market or in the ancient walking street Lampang (Kad Kong Ta) during the weekends. That should be sustainable activities; co-branded merchandise should be local handicrafts and have enough facilities. In addition, the researcher investigated the factors that affected the activities and the products sold together in the event. Relational and positive impact in motivation, facilities and problems found in the tourist. There was a significant correlation and negative impact on the activity pattern at .05 level. Keyword : Guidelines, Tourism Activities, Propel, Geographical Indication
รายละเอียด :