ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจของนักศึกษาที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป\"

โดย :

อ.จิตรา ลาวัลย์ชัยกุล
ชื่อเรื่อง : การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจของนักศึกษาที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป
ผู้วิจัย : อ.จิตรา ลาวัลย์ชัยกุล
วันที่เผยแพร่ : 30-11-2016
บทคัดย่อ : ชื่อเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจ ของนักศึกษาที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ชื่อผู้วิจัย นางสาวจิตรา ลาวัลย์ชัยกุล หน่วยงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีพุทธศักราช 2558 บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาการติดตามข่าวสารของนักศึกษาประกอบการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น2 ส่วน ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านเศรษฐกิจของนักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ตลอดจนพัฒนาการในการติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจภายหลังจากเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป โดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบ จากนักศึกษาทั้งหมด 43 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดย โปรแกรม Excel พบว่า นักศึกษาติดตามข่าวสารทางสื่อหนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ต อยู่ในระดับมากที่สุด อินเตอร์เน็ต รองลงมาคือ โทรทัศน์อยู่ในระดับ มาก ในด้านข่าวสารที่นักศึกษาให้ความสนใจมากที่สุดคือ มาตรการควบคุมเศรษฐกิจของรัฐ และภาวะเศรษฐกิจของโลก ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบทบาทของรัฐบาลและธนาคารกลางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ได้รับความสนใจระดับต่ำ การพัฒนาการติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ของนักศึกษาที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ได้มีการศึกษาทั้งจากแบบสอบถามและแบบทดสอบ จากแบบสอบถามพบว่า ก่อนเรียน นักศึกษามีความสนใจติดตามข่าวสารในระดับปานกลาง หลังจากเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไปนักศึกษามีความสนใจในการติดตามข่าวสารเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก และผลการทดสอบระดับความรู้ของนักศึกษาจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาที่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่านักศึกษามีพัฒนาการในการติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจของนักศึกษา พบว่าความเข้าใจในเนื้อหาด้านเศรษฐกิจ และการมอบหมายงานของอาจารย์ มีผลต่อการติดตามข่าวสารของนักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือการนำเสนอของผู้สื่อข่าวน่าสนใจ ส่วนแหล่งข่าวสารมีมากขึ้น และผู้ปกครอง/เพื่อน มีอิทธิพลต่อการติดตามข่าวสารฯน้อยมาก
Abstract :
รายละเอียด :