ระบบบริหารงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

งานวิจัย

\"การวิเคราะห์แนวทางการยกระดับปุ๋ยไส้เดือนดินเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดเชิงรุกของธุรกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง\"

โดย :

ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์แนวทางการยกระดับปุ๋ยไส้เดือนดินเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดเชิงรุกของธุรกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย : ดร.อัจฉรา เมฆสุวรรณ
ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
วันที่เผยแพร่ : 30-10-2017
บทคัดย่อ : การวิเคราะห์แนวทางการยกระดับปุ๋ยไส้เดือนดินเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดเชิงรุก ของธุรกิจชุมชน ตําบลปงยางคก อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง Analysis of Worm Fertilizer Levels to Increase Proactive Marketing Channels of Community Business in Pangyangkok community, Hang Chart district, Lampang province. อัจฉรา เมฆสุวรรณ*, ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช2 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 119 หมู่ 9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลําปาง 52100 E-mail:atchara.meksuwan@gmail.com บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมุ่งศึกษาถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยไส้เดือนดินของผู้ประกอบการในพื้นที่ ชุมชนปงยางคก อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการยกระดับปุ๋ยไส้เดือนดินเพื่อเพิ่ม ช่องทางการตลาดเชิงรุกของธุรกิจชุมชน ตําบลปงยางคก อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง และเพื่อทําการพัฒนาตรา ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยไส้เดือนดิน ตําบล ปงยางคก อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นกรณีศึกษาคือ ผู้ผลิตปุ๋ยใส้เดือนดินบ้านสวนป้าพร โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยเชื่อมโยงกับ บริบทและจุดมุ่งหมายของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยไส้เดือนดินของผู้ประกอบการบ้าน สวนป้าพรนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า ฉลากและบรรจุภัณฑ์โดยการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จําเป็นต้องพิจารณาศักยภาพผลิตภัณฑ์ ศักยภาพผู้ประกอบการและความต้องการหรือความคาดหวังของ ลูกค้า ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยใส้เดือนดินได้มีการพัฒนาตราสินค้าเพื่อสร้างความสามารถทางด้านการสื่อสาร การตลาด การพัฒนาฉลากสินค้าเพื่อสร้างการรับรู้และความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์เพื่อนําไปสู่การขยายตลาดต่อไปใน อนาคตโดยการพัฒนาทั้งสองส่วนพิจารณาการตอบสนองของลูกค้าและความต้องการของผู้ประกอบการในการพัฒนา คําสําคัญ: แนวทางการยกระดับ, ปุ๋ยไส้เดือนดิน, ช่องทางการตลาดเชิงรุก
Abstract : Abstract This research is a qualitative research aimed at studying the development of earthworm fertilizer products of entrepreneurs in the Pangyangkok community, Hang Chart district, Lampang province. The objectives of this research were to analyze the ways of raising earthworm fertilizer to increase the proactive marketing channel of Pongyangkok sub-district business community, Hang Chat district, Lampang province and to develop the brand of earthworm fertilizer in Pongyangkok sub- district, Hang Chat district, Lampang province. The sample group used as a case study was the producer of earthworm fertilizer at Baansuan Paporn using quality research tools and content analysis was linked to the context and purpose of the research. The results of the research found that the development model of the producer of the earthworm fertilizer at Baansuan Paporn was based on an analysis of the potential of the whole product including the product, brand, label, and packaging. Product development needs to consider product potential, entrepreneur potential, and customers’ needs or expectations. The development of earthworm fertilizer has developed a brand to build marketing communication skills. The development of product labels to create awareness and product prominence will lead to further market penetration. The development of these two segments will take into account of the customer response and the needs of the operator in development. Key words: Levels to Increase Proactive, Worm Fertilizer, Proactive Marketing Channels
รายละเอียด :